Choose a language

มิชลินมีบทบาทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

มิชลินเป็นผู้นำในการส่งเสริมการสัญจรให้มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมลดลง(1) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ 
ที่ส่งผลให้การเดินทางสัญจรปลอดภัย เข้าถึงได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คิดค้นนวัตกรรมเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ยางยุคใหม่

มิชลินปฏิบัติตามกฎบัตรการออกแบบเชิงนิเวศ (Eco-Design Charter) ด้วยการประเมินผลกระทบที่ผลิตภัณฑ์ยางจากมิชลินมีต่อสิ่งแวดล้อม ในทุกขั้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(2) เพื่อลดผลกระทบโดยรวม ทั้งยังคงไว้ซึ่งสมรรถนะที่ดีหรือยกระดับสมรรถนะให้ดีขึ้นกว่าเดิม

Motion For Life, Michelin - Performance Made to Last 15s - USA

ลดขยะด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ยางให้มีอายุใช้งานยาวนาน

การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการเปลี่ยน(ยาง)ให้น้อยลง ทำให้ยางล้อทั้งชุดวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น ที่มิชลิน...เราจึงมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ยาง
ซึ่งมอบประสบการณ์การขับขี่ที่ปลอดภัย(3) และให้สมรรถนะยาวนานตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนถึงกิโลเมตรสุดท้าย(4) สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจ(5) จนกระทั่งยางสึกถึงระดับต่ำสุดที่กฎหมายกำหนด

MICHELIN 15s THA Environment 16 9 TVC sub 210218 v01 preview

ลดการสิ้นเปลืองพลังงานของรถยนต์และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ลดลงเป็นผลมาจากแรงต้านทานการหมุนของยางล้อที่ลดลง นับตั้งแต่วางจำหน่ายยาง ‘มิชลิน เอนเนอจีย์ เซฟเวอร์’ (MICHELIN ENERGY SAVER) เมื่อปี 2535 มิชลินได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่องรวม 6 รุ่น โดยในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา มิชลินสามารถลดแรงต้านทานการหมุนของยางล้อในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางชั้นนำสำหรับรถยนต์นั่งลงได้กว่าครึ่ง(6)

Michelin, Motion For Life - Recycling 15 sec

ลงทุนในการรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะให้เป็นยางล้อ

การผลิตยางล้อจากถ้วยโยเกิร์ตหรือขวดพลาสติก นวัตกรรมด้านวัสดุจากชีวมวล (Bio-Sourced Materials) และวัสดุที่ได้จากการคืนสภาพ (Regenerated Materials) จะช่วยให้มิชลินสามารถเปลี่ยนขยะในชีวิตประจำวัน(7) ให้เป็นวัสดุในการผลิตยางล้อเส้นใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่อื่นๆ  โดยภายในปี 2573 มิชลินตั้งเป้าที่จะใช้วัสดุรีไซเคิลปริมาณสูงถึง 13.5 ล้านตันในการผลิตยางล้อ(8)

มิชลิน e.PRIMACY : ยางเพื่อสิ่งแวดล้อมรุ่นแรกของมิชลิน

‘มิชลิน อี.ไพรมาซี่’ (MICHELIN e.Primacy) เป็นยางมิชลินรุ่นแรกที่พัฒนาขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) ระบุไว้ที่ยาง ทั้งยังเป็นยางรุ่นแรกในตลาดที่มีการติดฉลากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม (Environmental Product Declaration: EPD) อีกด้วย

ยาง ‘มิชลิน อี.ไพรมาซี่’

ยางมิชลินที่ยั่งยืนและมีอยู่จริง (Towards all sustainable tire)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ซึ่งผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน 45%(9)

เมื่อเดือนตุลาคม 2565  มิชลินได้นำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ซึ่งผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน 45% และผ่านการอนุมัติให้ใช้งานบนถนนทั่วไปได้

ผลิตภัณฑ์ยางกลุ่มนี้มีสมรรถนะระดับเดียวกับผลิตภัณฑ์ยางที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน(10) ตอกย้ำให้เห็นว่ามิชลินกำลังก้าวอย่างมั่นคง
ไปสู่เป้าหมายระยะกลางที่จะใช้วัสดุรีไซเคิล(11) และวัสดุจากชีวมวลในการผลิตยางล้อทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ได้ 40% ภายในปี 2573 
และเป้าหมายสูงสุด 100% ภายในปี 2593

 

ต้นแบบยาง ‘มิชลิน อัพทิส’

ต้นแบบยาง ‘มิชลิน อัพทิส’ (MICHELIN UPTIS)(12) เป็นโซลูชั่นชุดยางล้อ (ยาง+กระทะล้อ) ไร้ลมชนิดสำเร็จรูปสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 

โดยช่วยลดความเสี่ยงต่ออันตรายอันอาจเกิดจากยางแบนหรือยางแตกเพราะโดนของมีคมทิ่มตำหรือเพราะสภาพท้องถนนก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งยังช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย

New generation of airless tire | Michelin

A Visionary Concept Tire | Michelin

แนวคิด: ยางที่ผลิตจากวัสดุยั่งยืน 100%

เป็นแนวคิดเกี่ยวกับยางไร้ลมที่มาพร้อมกระทะล้อในชุดเดียว แนวคิดนี้ได้รับการเปิดเผยเมื่อปี 2560

แนวคิดซึ่งเน้นการผลิตยางล้อด้วยวัสดุจากชีวมวล มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย และใช้ดอกยางที่สามารถหล่อดอกขึ้นใหม่ได้ 
ตอกย้ำให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าโมเดลการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมิชลินจะเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ยางล้อไปในลักษณะใดนับจากนี้จนถึงปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายในการผลิตยางล้อจากวัสดุรีไซเคิลและวัสดุจากชีวมวลให้ได้ภายในปี 2593 ได้อย่างไร

ในปี 2593 ผลิตภัณฑ์ยางมิชลินจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน 100%

เมนูผลิตยางเพื่อความยั่งยืน 100%

เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาโซลูชั่นที่ยั่งยืนผ่านกีฬามอเตอร์สปอร์ต

Racing Today for Tomorrow’s Sustainable Mobility | Michelin

ยางที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลและวัสดุจากชีวมวลมากกว่า 50%

มิชลินได้พัฒนายางรถแข่งที่ผลิตจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัตถุดิบจากชีวมวล 53% โดยติดตั้งใช้งานกับรถยนต์ต้นแบบ GreenGT H24 
ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับการแข่งขันระยะยาวแบบมาราธอน ‘เอ็นดูรานซ์ เรซซิ่ง’ (Endurance Racing) 
และรถยนต์ Porsche GT4 ePerformance  ยางสมรรถนะสูงมากรุ่นนี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Disruptive Technologies) ยังคงให้สมรรถนะที่ดีแม้เมื่อใช้งานในสภาวะการแข่งขันที่หนักหน่วงก็ตาม

ผลิตภัณฑ์ยางที่ยั่งยืนเปิดตัวลงสนามแข่งแล้ว

มิชลินได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแข่งขันรายการ ‘เวิล์ด คัพ โมโตอี’ (World Cup MotoE) ประจำฤดูกาลปี 2565 
ซึ่งผลิตจากวัสดุรีไซเคิลและวัสดุจากชีวมวลในสัดส่วนราว 40%(13) โดยยังคงให้สมรรถนะระดับสูง 
ผลิตภัณฑ์ยางรุ่นนี้ได้รับความไว้วางใจเลือกใช้งานโดยนักแข่ง 18 ราย ในการแข่งขัน 12 รอบของ ‘เวิล์ด คัพ โมโตอี’ ประจำปี 2565

What are sustainable materials? - Michelin Motorsport

พัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นที่ยั่งยืนในธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของนวัตกรรมที่ยั่งยืนดังกล่าวจากมิชลิน...

MS HYDROGENE GB

ผลักดันให้การสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจนเกิดขึ้นจริง

มิชลินมีส่วนขับเคลื่อนพลังงานไฮโดรเจนตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เพราะมั่นใจว่าการสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจนจะเป็น
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสัญจรพลังงานสะอาด (Clean Mobility) โดยมีส่วนส่งเสริมการทำงานของแบตเตอรี่ไฟฟ้า

Fostering sustainable gastronomy

ส่งเสริมการประกอบอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ มุ่งมั่นสนับสนุนการประกอบอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รางวัล “ดาวมิชลินรักษ์โลก” (MICHELIN Green Star) ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2563 เป็นรางวัลใหม่ที่มอบให้แก่เชฟผู้มีความโดดเด่นในการประกอบอาหารด้วยความรับผิดชอบ 
และมีส่วนส่งเสริมให้ลูกค้าดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น

WISAMO - Maritime Nantaise

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการขนส่งทางทะเล

ภายใต้โครงการ Wing Sail Mobility (WISAMO) หรือการสัญจรที่ขับเคลื่อนด้วยใบเรือ ได้มีการคิดค้นพัฒนาระบบใบเรือที่ยืดหดได้
และพองลมอัตโนมัติ ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งได้กับทั้งเรือบรรทุกสินค้าและเรือสำราญ การออกแบบที่ปฏิวัติวงการเช่นนี้
ไม่เพียงช่วยลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของเรือ แต่ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย 

Expansion of Michelin Ecological Reserve

อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ในปี 2547 กลุ่มมิชลินได้จัดสร้างพื้นที่สงวนทางนิเวศ หรือ Michelin Ecological Reserve ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ใช้ชื่อว่า Ouro Verde Bahia โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ทดสอบโมเดลการผลิตยางธรรมชาติ, กระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

รับทราบข่าวสารและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมิชลินก่อนใคร

ลงทะเบียนรับจดหมายข่าว People in Motion จากมิชลินได้ง่ายๆ เพียงกรอกแบบฟอร์ม พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษ
และสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันเพื่อสัมผัสประสบการณ์ระดับพรีเมียมที่เหนือกว่าในสถานที่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ

เหตุผลที่ควรเลือกใช้ยางมิชลิน:

Trust MICHELIN for a better life in motion

มิชลิน...มุ่งขับเคลื่อนสู่อีกระดับของชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง

ผลิตภัณฑ์ยางของมิชลินได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค ผู้ผลิต นักแข่งมอเตอร์สปอร์ต และผู้นำทางความคิด ซึ่งล้วนมีความคาดหวังสูง

The range challenge of electric cars

ก้าวล้ำนำหน้าสู่การสัญจรด้วยพลังงานไฟฟ้า

มิชลินเป็นผู้นำด้านการสัญจรด้วยพลังงานไฟฟ้า ทีมวิศวกรของเราทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ในการออกแบบยางล้อให้มีสมรรถนะตอบโจทย์ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

Sustainable Development and Mobility

การสัญจรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มมิชลินสะท้อนให้เห็นในกลยุทธ์ด้านการสัญจรและการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนให้มิชลินเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง มีความรับผิดชอบ และมีศักยภาพทางนวัตกรรมสูงสุดในโลก...ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการจัดการทางสังคม

map search desktop

ค้นหาตัวแทนจำหน่ายยางมิชลินในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาจาก
ที่อยู่ จังหวัด หรือรหัสไปรษณีย์
รถยนต์
  • รถยนต์
  • รถจักรยานยนต์
  • จักรยานยนต์
ค้นหาจากตำแหน่งของฉัน
ค้้นหา

ข้อความสงวนสิทธิ์ทางกฎหมาย

 

(1) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.michelin.com/en/sustainable-development-mobility/working-towards-sustainable-mobility/

(2) ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการใช้งานและการรีไซเคิล

(3) สมรรถนะการเบรกบนพื้นเปียกเมื่อยางใกล้หมดดอก: ผลการทดสอบภายนอกองค์กรที่จัดทำโดย TÜV SÜD Product Service เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ตามคำขอของมิชลิน โดยติดตั้งยางขนาด 205/55 R16 91V กับรถทดสอบ VW Golf 8 ที่ขับขี่ด้วยความเร็ว 20-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ยางใกล้หมดดอก ในที่นี้หมายถึง ยางที่มีความลึกดอกยางระดับเดียวกับสะพานยาง (Tread Wear Indicator) ซึ่งเป็นความลึกดอกยางขั้นต่ำสุดตามกฎระเบียบของยุโรป โดยการเจียรบนเครื่องจักร)

(4) “กิโลเมตรสุดท้าย” ในที่นี้หมายถึงจนกระทั่งยางสึกถึงระดับต่ำสุดที่กฎหมายกำหนด (1.6 มิลลิเมตร สำหรับประเทศในทวีปยุโรป)  ทั้งนี้ ให้อ้างอิงความสึกของยางระดับต่ำสุดตามที่กฎหมายในแต่ละประเทศกำหนด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.michelin.country/performancemadetolast

(5) ผลิตภัณฑ์ยางรุ่นต่อไปนี้ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานยาวนานสูงและสมรรถนะที่ยืนยาวตลอดอายุใช้งาน: ‘มิชลิน ครอสไคลเมท 2’ (MICHELIN CrossClimate 2), ‘มิชลิน ครอสไคลเมท 2 เอสยูวี’ (MICHELIN CrossClimate 2 SUV), ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 4+’ (MICHELIN Primacy 4+), ‘มิชลิน อี.ไพรมาซี่’ (MICHELIN e.Primacy), ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต 4 เอส’ (MICHELIN Pilot Sport 4S), ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต 5’ (MICHELIN Pilot Sport 5), ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ (MICHELIN Pilot Sport EV), ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต 4 เอสยูวี’ (MICHELIN Pilot Sport 4 SUV), ‘มิชลิน อัลพิน 6’   (MICHELIN Alpin 6) และ ‘มิชลิน ไพลอต อัลพิน 5’ (MICHELIN Pilot Alpin 5)

(6) จากการคำนวณภายในองค์กรโดยเปรียบเทียบยาง ‘มิชลิน เอนเนอจีย์’ (แรงต้านทานการหมุนของยางล้อมากกว่า 12 กิโลกรัมต่อตัน) กับยาง ‘มิชลิน อี.ไพรมาซี่’ และยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ (แรงต้านทานการหมุนของยางล้อน้อยกว่า 5 กิโลกรัมต่อตัน)

(7) “ขยะในชีวิตประจำวัน” ได้แก่ ฟางข้าวโพด, ขี้เลื่อย, ภาชนะใส่อาหาร, บรรจุภัณฑ์พลาสติก, ขวดพลาสติก ฯลฯ

(8) ยอดรวมปริมาณวัสดุรีไซเคิลที่กลุ่มมิชลินใช้ในการผลิตยางล้อระหว่างปี 2563-2573 ซึ่งได้จากการคำนวณบนพื้นฐานของเป้าหมายที่จะใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตยางที่สัดส่วน 40% ภายในปี 2573

(9) สำหรับมิชลิน วัสดุที่ยั่งยืนอาจเป็นวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุจากชีวมวลซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในช่วงชีวิตของมนุษย์หนึ่งคน โดยไม่เป็นวัสดุที่มาจากภาคอาหาร  ทั้งนี้ มิชลินไม่ถือว่าวัสดุธรรมชาติซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในช่วงชีวิตของมนุษย์หนึ่งคน (เช่น น้ำมัน) เป็นวัสดุที่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ วัสดุบางประเภทแม้จะมีที่มาจากแร่ธรรมชาติ เช่น ซิลิกา จึงไม่ถือเป็น “วัสดุที่ยั่งยืน” ภายใต้คำจำกัดความของมิชลิน

(10) จากผลการทดสอบภายในองค์กร โดยเปรียบเทียบกับยาง ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 4’ ขนาด 235/55R19 105W ที่วางจำหน่ายในตลาดปัจจุบัน

(11) วัสดุรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบที่เกิดจากกระบวนการรีไซเคิลด้วยการนำขยะอุตสาหกรรมหรือขยะที่ผ่านการบริโภคแล้วกลับมาผ่านกระบวนการให้เป็นผลิตภัณฑ์, วัสดุ หรือสสาร อีกครั้ง  ทั้งนี้ไม่รวมถึงการนำพลังงานกลับมาใช้ซ้ำหรือการนำวัสดุกลับมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้เป็นพลังงาน (อ้างอิงตามคำจำกัดความภายใต้ข้อกำหนดของสหภาพยุโรปว่าด้วยขยะ)

(12) UPTIS ย่อมาจาก Unique Puncture-Proof Tyre System เป็นชุดยางล้อไร้ลมที่มิชลินพัฒนาขึ้นร่วมกับ Maxion ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์กระทะล้อรูปแบบพิเศษของยาง ‘มิชลิน อัพทิส’

(13) สอดคล้องกับน้ำหนักเฉลี่ยของมวลยางล้อหน้าและยางล้อหลัง นั่นคือ มีวัสดุที่ยั่งยืนเป็นส่วนประกอบของยางล้อหน้าในสัดส่วน 33% และยางล้อหลังในสัดส่วน 46%

คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์