Choose a language
พื้นหลัง header 4 เคล็ดลับและคำแนะนำ

คำแนะนำ 10 ข้อเพื่อป้องกันการเจาะทะลุ

เคล็ดลับและคำแนะนำเกี่ยวกับจักรยาน

การป้องกันการเจาะทะลุนั้นดีกว่าการที่ต้องจัดการในตอนที่เกิดการเจาะทะลุขึ้นแล้วเสมอ คุณต้องทำอย่างไร? นี่คือคำแนะนำ 10 ข้อเพื่อการป้องกันการเจาะทะลุ

1. ตรวจสอบแรงดันลมยางของคุณเป็นประจำ

สำหรับจักรยานที่มียางใน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแน่ใจว่ายางนั้นได้รับการสูบลมอย่างเหมาะสมก่อนออกไปขับขี่ นี่คือคำแนะนำแรกของเราเพื่อป้องกันการเจาะทะลุ และเป็นขั้นตอนที่ง่ายพอๆ กับที่มีความสำคัญ

หากคุณขับขี่ด้วยแรงดันลมยางที่ต่ำมากๆ จะมีความเสี่ยงต่อการบีบอัดยางใน และทำให้เกิดการเจาะทะลุโดยไม่จำเป็นต้องขี่ทับสิ่งที่แหลมคม อาจถึงขั้นมีความเสี่ยงที่ยางจะดันออกมานอกขอบล้อ

ในขณะที่หากมีการเติมลมยางมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อยางได้ มีโอกาสน้อยที่คุณจะทำความเสียหายต่อยางด้วยการสูบลมด้วยมือ แต่เมื่อคุณเริ่มใช้งาน คุณจะเพิ่มแรงดันลมยางเข้าไปด้วยน้ำหนักตัวของคุณ ดังนั้น หากคุณขับขี่บนพื้นผิวที่ขรุขระ ทุกกระกระแทกและการสะเทือนสามารถทำให้แรงดันลมยางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้กับยางได้

หากต้องการหาข้อมูลแรงดันลมยางที่เหมาะสำหรับจักรยานของคุณ โปรดอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับแรงดันลมยางของเรา

2. ตรวจสอบยางของคุณเป็นประจำ

ไม่ว่าคุณจะใช้จักรยานที่มียางแบบไม่มียางในหรือที่มียางใน การตรวจสอบยางของคุณเป็นประจำจะสามารถช่วยป้องกันการเจาะทะลุด้วยการสังเกตเห็นปัญหาก่อนที่ขับขี่

ปัญหาที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ มีบางอย่างที่แหลมคมติดอยู่กับดอกยาง เราไม่ได้พูดถึงแค่เศษแก้วหรือน็อตเท่านั้น แม่แต่เศษกรวดที่คมก็อาจจะมากพอที่จะทำให้เกิดการเจาะทะลุได้หากถูกทิ้งไว้ให้กดทับจุดเดิมอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ คุณยังสามารถพบบริเวณที่ยางเริ่มบางลงได้ด้วย ในยางแบบไม่มียางใน การเจาะทะลุเช่นนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สำหรับยางที่มียางใน รอยปะที่เสื่อมสภาพอาจเผยให้เห็นยางในได้ หรือทำให้ของมีคมทะลุผ่านยางชั้นนอกอย่างรวดเร็วและทำให้ยางในทะลุ

3. ลองเปลี่ยนมาใช้ยาง TUBELESS READY

การขับขี่ด้วยยาง TUBELESS READY ทำให้คุณสามารถสนุกไปกับความสบายของแรงดันลมยางที่ต่ำกว่า และอย่างที่เราจะได้เห็นกันคือ ถ้ายางป้องกันการเจาะทะลุไม่ค่อยได้ก็สามารถเลี่ยงปัญหานั้นได้ จักรยานเสือหมอบและจักรยานเสือภูเขาที่มียางแบบไม่มียางในยังไม่ใช่ตัวเลือกที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับจักรยานทั่วไป แต่ผู้ที่ใช้ยางแบบไม่มียางในนั้นชื่นชอบข้อดีของเทคโนโลยีที่พึ่งพาการใช้น้ำยาปะยางอุดรอยรั่วแบบลาเท็กซ์ภายในยาง ของเหลวชนิดนี้ (หรือ “สไลม์” ตามที่บางครั้งเรียกกัน) ปิดผนึกรอยเจาะทะลุอย่างได้ผลก่อนที่ยางจะเสียแรงดันลมยาง ยาง TUBELESS READY ทุกรุ่นของมิชลินจำเป็นต้องใช้กับน้ำยาปะยางอุดรอยรั่ว ถ้าพูดกันตามจริง น้ำยาปะยางอุดรอยรั่วแบบลาเท็กซ์นั้นผนึกได้เฉพาะรูขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 มม.) ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องขับขี่อย่างระมัดระวังหลังเกิดการเจาะทะลุขึ้น

น้ำยาปะยางอุดรอยรั่วจะต้องได้รับการเปลี่ยนทุก 3 เดือน (ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำยา) ซึ่งหมายความว่ามีความสมเหตุสมผลที่จะซื้อชุดน้ำยาปะยางอุดรอยรั่วที่มีทุกสิ่งที่คุณต้องการ
 หรืออีกทางคือ ตัวแทนจำหน่ายจักรยานหลายเจ้านั้นยินดีที่จะทำให้คุณ ผู้ขับขี่บางคนที่ใช้ยางในแบบปกติยังสนับสนุนการใช้น้ำยาปะยางอุดรอยรั่วแบบลาเท็กซ์์ด้านในยางในของจักรยานอีกด้วย
 ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีนี้คือ MICHELIN’s Bicycle Tyre Puncture Prevention Gel
 เจลชนิดนี้ที่ได้รับการปรับแต่งมาเพื่อวาล์วแบบ Schrader สามารถใช้ได้ทั้งกับยางแบบมียางในและยางแบบไม่มียางใน ช่วยผนึกรอยเจาะทะลุ จำกัดการสูญเสียแรงดันลม และทำให้ผู้ขับขี่สามารถขี่ต่อไปได้โดยไม่ต้องพักเติมลมให้ยางที่เสียหาย

4. อย่าใช้ยางเก่า

ตามเหตุผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น คุณควรเปลี่ยนยางใหม่เสมอเมื่อยางดูเสื่อมสถาพ รวมไปถึงแรงฉุดลากที่ลดลงจากดอกยางที่เสื่อมสภาพ ชั้นยางที่บางลงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเจาะทะลุ กล่าวสั้นๆ ก็คือ ถ้าคุณต้องการป้องกันการเจาะทะลุ อย่างรีรอเมื่อสังเกตว่ายางของคุณเสื่อมสภาพมากเกินไปและจำเป็นต้องเปลี่ยน

Edito checking the condition of your tyres is one of the first things you should do for bike tyre puncture prevention เคล็ดลับและคำแนะนำ

5. อย่าขับขี่บนร่องน้ำทิ้ง

เวลาที่ขับขี่บนท้องถนน อยู่ให้ห่างจากร่องน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการเจาะทะลุ สาเหตุที่คนกวาดถนนเอาใจใส่กับร่องน้ำทิ้งเป็นเพราะว่านี่คือจุดที่เศษซากต่างๆ จากถนนจะมาอยู่รวมกัน

ดังนั้นถ้าคุณขี่บนร่องน้ำทิ้ง ความเสี่ยงที่จะพบกับวัตุที่อาจเจาะยางของคุณได้นั้นมีมากกว่าการขี่บนถนน

ไม่ใช่แค่ร่องน้ำทิ้งเท่านั้น แต่ยังมีหลุมบนถนนให้ระวังด้วย ซึ่งทั้งเป็นอันตรายต่อการเจาะทะลุ (จากการกระแทกที่ฉับพลันและรุนแรง) และเป็นสิ่งที่สามารถทำให้คุณเสียหลักตกจากจักรยานได้ถ้าคุณไม่ได้ระวังตัว 

6. ใช้ยางที่หน้ากว้างขึ้น

คำแนะนำสำหรับการป้องกันการเจาะทะลุนี้เหมาะสำหรับนักปั่นที่มักจะขี่ออกไปยังเส้นทางที่สมบุกสมบัน ข้ามข้อนี้ไปได้เลยหากคุณเป็นนักปั่นที่ขับขี่เฉพาะบนถนนที่ไม่ค่อยได้เจออุปสรรคใดๆ นอกจากลูกระนาดบนถนน

สำหรับคนอื่นๆ ที่เหลือ การเปลี่ยนไปใช้ยางที่หน้ากว้างขึ้นจะทำให้มีแรงต้านทานการปะทะในจุดเล็กๆ เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับช่วยเลี่ยงอาการยางแบนเพราะการถูกบีบได้ แต่ก่อนที่จะพิจารณายางที่หน้ากว้างขึ้น ให้ตรวจสอบสเปคของจักรยานเพื่อหาความกว้่างสูงสุดที่สามารถใช้กับจักรยานของคุณได้ก่อน ข้อมูลนี้จะกำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตจักรยานของคุณ

7. ตรวจสอบขอบล้อของคุณ

นักปั่นมากประสบการณ์หลายคนประเมินความสำคัญของขอบล้อที่ช่วยให้ยางของพวกเขาได้รับการเติมลงอย่างเหมาะสมและอยู่ในสภาพดีต่ำเกินไป ยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางแบบไม่มียางในนั้นจะอยู่ด้านในของขอบล้อ และแรงดันลมภายในจะดันยางเหล่านั้นออกมา ถ้าขอบล้อได้รับความเสียหาย อากาศจะรั่วออกมาช้าๆ เช่นเดียวกับเวลาที่มีรอยรั่ว

ขอบล้อที่เสียหายอาจทำให้อากาศรั่วออกมาเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกันเวลาที่คุณข้ามลูกระนาดบนถนนหรือผ่านเส้นทางที่ขรุขระเป็นพิเศษ

และแน่นอนว่าถ้ายางของคุณได้รับการเติมลมน้อยเกินไป ก็มีโอกาสที่จะได้รับการเจาะทะลุมากกว่า

คุณสามารถป้องกันการเจาะทะลุได้ด้วยการเลี่ยงสร้างความเสียหายให้ขอบล้อ ขอบล้ออาจเสียหายได้หากเกิดการชนกัน หรือชนเนินหรือหลุมบนถนน หรือแม้กระทั่งมือหนักไปหน่อยตอนเปลี่ยนยาง วิธีที่ดีที่จะสังเกตเห็นความเสียหายของขอบล้อที่อาจสังเกตได้ยากด้วยตาเปล่าคือการยกล้อขึ้นเหนือพื้นแล้วหมุน การผิดรูปใดๆ อาจสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นตอนที่ล้อกำลังหมุน

อีกเรื่องที่ต้องพิจารณษคือสภาพของเทปปิดขอบล้อ เมื่อคุณเปลี่ยนยางหรือยางใน ให้ใช้โอกาสนี้สังเกตเทปปิดขอบล้อ โดยให้แน่ใจว่าเทปปิดรูซี่จักรยานบนล้อ สำหรับยางแบบไม่มียางใน ขอบล้อจะมีความสำคัญเนื่องจากเป็นตัวสร้างผนึก สำหรับยางแบบมียางใน ถ้าเทปปิดขอบล้อเสียหาย ความเสี่ยงในการเจาะทะลุจะสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเทปปิดขอบล้อและบางครั้งก็ต้องทำการเปลี่ยน ในกรณีที่ไม่แน่ใจ ให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

8. อย่าซ่อมรอยเจาะทะลุขนาดใหญ่

เราเข้าใจความต้องการที่จะประหยัดเงิน แต่การใช้ชุดซ่อมแซมการเจาะทะลุก็มีขีดจำกัด หากรูรั่วมีขนาดใหญ่ หรือถ้าเป็นรอยฉีกมากกว่ารู หรือหากความเสียหายอยู่บนแก้มยาง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนยางแล้ว การพยายามซ่อมด้วยการปะหมายถึงคุณมีความเสี่ยงที่จะได้เจอกับการเจาะทะลุอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ มีความเป็นไปได้ที่จะซ่อมแซมยางในสถานการณ์ที่เห็นได้ชัด แต่ในกรณีอื่นๆ ยางอาจเสียหายมากเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ ดังนั้นหากคุณลังเลว่าสามารถซ่อมได้หรือไม่ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

9. ระวังเวลาใส่ยางในหรือยางเส้นใหม่

เราได้พูดถึงเรื่องมือหนักกับขอบล้อเวลาเปลี่ยนยางแบบไม่มียางในใหม่ไปแล้วว่าอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งอาจรุนแรพอกันสำหรับนักปั่นที่ใช้ยางใน

หากคุณไม่ระมัดระวังตอนเปลี่ยนยางใน ก็อาจทำให้ยางในถูกหนีบระหว่างยางและขอบล้อ หรือได้รับความเสียหายจากเครื่องมือที่ใช้กับจักรยานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยเจาะทะลุขนาดเล็ก (หรือใหญ่) กับยางในได้

และเพื่อให้เรื่องแย่ลงไปอีก จะมีโอกาสที่บางครั้งก็สูงมากที่คุณจะไม่ได้สังเกตเห็นรอยเจาะทะลุจนกว่าจะใส่ยางและเติมลมเสร็จเรียบร้อย และลมก็ไหลออกในทันที!

อย่าลืมตรวจสอบเทปปิดขอบล้อของคุณที่อาจทำให้เกิดการเจาะทะลุได้ถ้าเสียหาย

Edito inner tubes เคล็ดลับและคำแนะนำ

10. เลือกใช้ยางและยางในที่คุณภาพสูง

การซื้อยางราคาถูกอาจทำให้คุณรู้สึกว่าได้ประหยัดเงิน อย่างไรก็ตาม ยางเหล่านั้นมักจะทำหน้าที่ได้เท่ากับยางที่ราคาแพงแต่ในระยะเวลาที่สั้นกว่า

หากคุณเลือกยางที่คุณภาพสูงกว่า เท่ากับว่าคุณจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อนแต่จะสามารถประหยัดได้ในระยะยาว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยางหรือยางในบ่อยมากนัก

ขอย้ำอีกครั้งว่าเราเข้าใจความต้องการที่จะประหยัดเงิน แต่นี่คือหนึ่งในสถานการณ์ที่การจ่ายมากกว่าะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ในระยะยาว ยางที่ราคาถูกกว่ามักจะทำหน้าที่ได้เท่ากับยางที่ราคาแพงแต่ในระยะเวลาที่สั้นกว่า หากคุณเลือกยางที่คุณภาพสูงกว่า เท่ากับว่าคุณจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อนแต่จะสามารถประหยัดได้ในระยะยาว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยางหรือยางในบ่อยมากนัก

มิชลินมียางที่ได้คุณภาพให้คุณได้เลือกมากมายจากตัวเลือกของเราทางด้านล่างแต่เป็นเวลาสั้นกว่า

คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์