Choose a language
banner bg

ยางมิชลิน...ยางที่ออกแบบมาเพื่อคว้าชัย

“มอเตอร์สปอร์ต” เปรียบเสมือนห้องทดลองนวัตกรรมสำหรับมิชลิน...เพื่ออีกระดับของชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง

ทุกๆ วัน เราสร้างแบบจำลอง ออกแบบ ลงสนามแข่ง และเรียนรู้เพื่อพัฒนายางล้อที่ดียิ่งขึ้นและนำเสนอโซลูชั่นที่ยั่งยืนสำหรับแชมป์ในสนามแข่งและผู้ขับขี่บนท้องถนนเช่นคุณ และสำหรับยานยนต์ทุกประเภท

ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา มิชลินเป็นผู้ผลิตยางล้อที่คว้าชัยชนะมากที่สุด(1) ในการแข่งรถรายการสำคัญๆ ที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA) และสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM)(2)

2023, another successful season for Michelin!

MotoGP: คว้าชัยมากกว่า 480 สนาม ตั้งแต่ปี 2516

motogp official sponsor michelin main protected

ในปี 2565  ฟรานเชสโก บันยาญา (Francesco Bagnaia) จากทีมดูคาติ (Ducati) เอาชนะ ฟาบิโอ กวาร์ตาราโร (Fabio Quartararo) นักบิดสัญชาติฝรั่งเศสจากทีมยามาฮ่า (Yamaha) และคว้าตำแหน่งแชมป์โลกในการแข่งรถจักรยานยนต์ทางเรียบรายการ ‘โมโตจีพี’ (MotoGP) มาครองได้สำเร็จ ส่งผลให้ ฟรานเชสโก บันยาญา คว้ามงกุฎแชมป์โลกสมัยที่ 33 ให้กับมิชลินในประเภทการแข่งรถจักรยานยนต์และกลายเป็นนักบิดคนที่ 17 ที่คว้าตำแหน่งแชมป์โลกมาให้กับยางมิชลินในการแข่งขันรายการนี้

นับตั้งแต่คว้าชัยชนะสนามแรกเมื่อปี 2516 ด้วยฝีมือของ แจ็ค ไฟนด์เลย์ (Jack Findley) จากทีมซูซูกิ (Suzuki) และครองตำแหน่งแชมป์ครั้งแรกในปี 2519 โดย แบร์รี ชีนเน (Barry Sheene) จากทีมซูซูกิ ปัจจุบันมิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขันโมโตจีพีมาแล้วมากกว่า 480 สนาม  ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลจากความทุ่มเทพัฒนายางล้ออย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ยางสลิคในปี 2516, ยางเรเดียลในปี 2527 และยางสูตรเนื้อยางคู่ (Bi-Compound) ในปี 2551

พร้อมสำหรับฤดูกาลแข่งขันประจำปี 2566 แล้วหรือยัง คลิกเพื่อดูตารางกิจกรรม

2022 06 gp spain 00970

นักบิดโมโตจีพีต่างเชื่อมั่นในยางมิชลิน

ช่างเทคนิคของมิชลินเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานจุดตรวจซ่อมรถในสนามแข่ง เราทำงานร่วมกันและเข้าใจดีว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด” – มิเกล โอลิเวียรา (Miguel Oliveira)

สำหรับนักบิด 90% ของการขับขี่เป็นเรื่องของการวางใจในยางล้อ เพราะยางมีบทบาทสำคัญ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยางล้อให้มาก รู้ว่ายางล้อทำงานอย่างไร มีสูตรเนื้อยางแบบไหนบ้าง ยางเนื้อนิ่ม ยางเนื้อแข็งปานกลาง ต้องทำความเข้าใจให้ไวและเชื่อมั่นในยางล้อที่เลือกใช้ เรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด” – ฆอร์เก มาร์ติน (Jorge Martin)

ยางล้อเหล่านี้ได้รับความเชื่อมั่นสูง เรามั่นใจในยางมิชลินเสมอมาเพราะใช้มานาน สำหรับการลงสนามแข่งครั้งนี้ผมมีความมั่นใจในยางมากเป็นพิเศษ” – ฟาบิโอ กวาร์ตาราโร (Fabio Quartararo)

โดยทั่วไป สิ่งที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือการเปลี่ยนยางล้อหรือสูตรเนื้อยาง เรียกว่าจะทำให้เกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด บอกได้เลยว่าสุดท้ายแล้ว...สิ่งที่สำคัญก็คือ
ยางล้อ เพราะเป็นส่วนที่ส่งผลต่อศักยภาพและสมรรถนะของนักบิด
” – แบรด บินเดอร์ (Brad Binder)

ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวข้องกับยางล้อ ถ้าเลือกยางได้ดีจะรู้สึกว่าขับขี่ได้ดีขึ้น ผมเป็นนักบิดที่ให้ความสำคัญกับล้อหน้าเป็นพิเศษ ถ้าขับแล้วรับรู้ถึงสัมผัสที่ดีจากล้อหน้า ผมจะขับได้ดีขึ้น ราบรื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น” – ฟรานเชสโก บันยาญา (Francesco Bagnaia)

ผมชอบใช้เวลากับวิศวกรของมิชลิน ถ้าเข้าใจได้ดีว่ายางล้อทำงานอย่างไร เมื่อขี่รถจักรยานยนต์ คุณจะรู้สึกมั่นใจขึ้น เข้าใจสมรรถนะของยางล้อมากขึ้น” – ลูกา มารีนี (Luca Marini)

FIM ENEL MotoE WORLD Cup: มิชลินในฐานะผู้จัดหายาง

มิชลินมีส่วนร่วมในการแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าชิงแชมป์โลกรายการ MotoE มาตั้งแต่ริเริ่มจัดขึ้นในปี 2562 โดยมิชลินได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านนวัตกรรมด้วยการพัฒนายางล้อซึ่งผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน [วัสดุที่ได้จากการรีไซเคิล, วัสดุหมุนเวียน (Renewable) และวัสดุที่มาจากแหล่งชีวภาพ]  ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมในการแข่งขัน MotoE ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (Everything Sustainable) ของกลุ่มมิชลิน

มิชลินลงทุนในกลยุทธ์ ‘ความยั่งยืนทุกด้าน’ ผ่านการแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า MotoE ซึ่งสำหรับเราเปรียบเสมือนเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบและรับรองนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในสภาวะแวดล้อม
สุดหฤโหด เป้าหมายของมิชลินคือเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิตยางล้อเพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายในการผลิตยางล้อที่ยั่งยืน 100%
” แมทธิว โบนาร์เดล (Matthieu Bonardel) ผู้อำนวยการของ ‘มิชลิน มอเตอร์สปอร์ต’ กล่าว

คลิกเพื่ออ่านข่าวประชาสัมพันธ์ “มิชลินยังคงครองตำแหน่งผู้จัดหายางแต่เพียงผู้เดียวสำหรับการแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าชิงแชมป์โลก MotoE” 

FIM ENEL MOTOETM WORLD CUP TYRE SUPPLIER

LE MANS 24H: ทำสถิติครองแชมป์ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2541

24h du mans x michelin

ทีม Toyota Gazoo Racing คว้าชัยชนะต่อเนื่องได้ทั้ง 5 สนาม ในการแข่งรถรายการ ‘เลอ มังส์’ (Le Mans) ประจำปี 2565  โดยในสนามที่ 2 ลงประลองความเร็วด้วยรถยนต์ต้นแบบ Hypercar รุ่นใหม่ที่ติดตั้งยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต’ รุ่นล่าสุด มิชลินทำสถิติครองแชมป์ต่อเนื่องในการแข่งรถรายการ ‘เลอ มังส์ 24 ชั่วโมง’ มาตั้งแต่ปี 2541  แต่รู้หรือไม่ว่าใครคือผู้คว้าชัยชนะรายแรกในการแข่งรถ ‘เลอ มังส์’

เรื่องราวของมิชลินและการแข่งรถ ‘เลอ มังส์’ เริ่มต้นขึ้นในการแข่งขันรอบปฐมฤกษ์เมื่อปี 2466 เมื่อ อองเดร ลากาช (André Lagache) และ เรอเน เลโอนาร์ด (René Leonard) จากทีม Chenard & Walcker คว้าชัยชนะด้วยยางมิชลิน โดยทำความเร็วเฉลี่ยที่ 92.064 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งห่างจากความเร็วเฉลี่ยที่ 233.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งผู้ชนะในปี 2565 ทำได้อยู่มาก

การคว้าชัยชนะต่อเนื่องของมิชลินในการแข่งรถประเภท Endurance Classic ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกรายการนี้ มีจำนวน 24 ครั้ง โดยถือเป็นการแข่งขันรายการแรกที่เปิดศักราชการแข่งรถ Hypercar และนำไปสู่การพัฒนายางมิชลิน ไพลอต สปอร์ต รุ่นใหม่  สำหรับปีนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ ได้แก่ เฟอร์รารี่ (Ferrari), ปอร์เช่ (Porsche), คาดิลแลค (Cadillac) และเปอโยต์ (Peugeot) จะลงชิงแชมป์รายการแข่งรถ ‘เลอ มังส์ เซ็นเทนนารี’ (Le Mans Centenary) ในกลุ่มประเภทไฮเปอร์คาร์ ร่วมกับ กลิกเคนเฮาส์ (Glickenhaus) และโตโยต้า (Toyota) ด้วย

11062022 02522006 lf 8725

FIA WORLD ENDURANCE CHAMPIONSHIP: คว้าชัยมากกว่า 70 สนาม ตั้งแต่ปี 2555 

มิชลินลงสนามในการแข่งรถทางเรียบ FIA World Endurance Championship (WEC) ตั้งแต่เริ่มเปิดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2555 และคว้าชัยชนะมาครองตั้งแต่ปีแรกของการแข่งขันรายการนี้

โดยครองตำแหน่งแชมป์ต่อเนื่อง 4 สมัยซ้อน ด้วยรถแข่ง Toyota GR010 Hybrid ซึ่งเป็นรถแข่งรุ่นแรกที่ครองแชมป์ประเภทไฮเปอร์คาร์

11092022 02222015 jfr62943

สำหรับการประลองความเร็วในรุ่น GTE Pro มิชลินคว้าชัยชนะ 73 สนาม ร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รางวัลที่ได้ร่วมกับปอร์เช่ (Porsche):
    • แชมป์ประเภทผู้ผลิต 2 รางวัล (ปี 2558 และ ปี 2561-2562)
    • แชมป์ประเภทนักแข่ง 2 รางวัล [ ริชาร์ด ลีทซ์ (Richard Lietz) ปี 2558 / ไมเคิล คริสเตนเซน (Michael Christensen) และ เควิน เอสเตร (Kevin Estre) ปี 2561-2562 ]
    • คว้าชัยชนะ 20 สนาม ด้วยรถแข่งปอร์เช่รุ่นต่างๆ ในตระกูล ‘911 RSR’
    • คว้าชัยชนะด้วยการทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด 20 สนาม
    • คว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 23 สนาม

 

 

  • รางวัลที่ได้ร่วมกับเฟอร์รารี (Ferrari):
    • แชมป์ประเภทผู้ผลิต 6 รางวัล (ปี 2555, 2556, 2557, 2559, 2560 และ 2564)
    • แชมป์ประเภทนักแข่ง 4 รางวัล [ จานมาเรีย บรูนี (Gianmaria Bruni) ปี 2556 / จานมาเรีย บรูนี และ โทนี วิแลนเดอร์ (Toni Vilander) ปี 2557 / เจมส์ คาลาโด (James Calado) และ อเลสซานโดร ปิเยร์ กุยดี (Alessandro Pier Guidi) ปี 2560 และปี 2564 ]
    • คว้าชัยชนะในการแข่งขันระดับกลุ่มประเภท (Class Win) 31 สนาม ด้วยรถแข่งรุ่น 458 Italia และ 488 GTE
    • คว้าชัยชนะด้วยการทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด 25 สนาม
    • คว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 19 สนาม

 

 

  • รางวัลที่ได้ร่วมกับแอสตัน มาร์ติน (Aston Martin):
    • แชมป์ประเภทผู้ผลิต 1 รางวัล (ปี 2562-2563)
    • แชมป์ประเภทนักแข่ง 1 รางวัล [ มาร์โค โซเรนเซน (Marco Sorensen) และ นิกกี้ ธีม (Nicki Thiim) ในปี 2562-2563 ]
    • คว้าชัยชนะ 14 สนาม
    • คว้าชัยชนะด้วยการทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด 17 สนาม
    • คว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 21 สนาม

 

 

  • รางวัลที่ได้ร่วมกับฟอร์ด (Ford):
    • คว้าชัยชนะ 6 สนาม
    • คว้าชัยชนะด้วยการทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด 7 สนาม
    • คว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 7 สนาม

 

 

  • รางวัลที่ได้ร่วมกับคอร์เวทท์ (Corvette):
    • คว้าชัยชนะ 2 สนาม
    • คว้าชัยชนะด้วยการทำเวลาต่อรอบเร็วที่สุด 3 สนาม
    • คว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 1 สนาม


ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราคว้าชัยชนะรวม 73 สนาม ร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำข้างต้น

FIA WORLD RALLY CHAMPIONSHIP: คว้าชัย 347 สนาม ระหว่างปี 2516-2563

มิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขันแรลลี่ชิงแชมป์โลกหรือ ‘เวิลด์ แรลลี่ แชมเปี้ยนชิพ’ (World Rally Championship: WRC) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2516 ในชื่อ ‘มอนติคาร์โล แรลลี่’ (Monte Carlo Rally)  ล่าสุดในปี 2563 การคว้าชัยชนะของ เซบาสเตียน โอกิเยร์ (Sébastien Ogier) ณ สนามแข่งมอนซา (Monza) นับเป็นชัยชนะครั้งที่ 347 ของมิชลินในการแข่งขัน WRC  สถิตินี้มาพร้อมตำแหน่งแชมป์ 28 สมัย จากนักแข่ง 12 ราย ทั้งยังครองมงกุฎแชมป์โลกอีก 30 สมัย ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ 11 ราย

ประวัติอันทรงเกียรติดังกล่าวส่งผลให้ทุกวันนี้มิชลินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแข่งแรลลี่ซึ่งพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ในการแข่งขัน WRC

มิชลินบนเส้นทางการแข่งขัน WRC

2516
มิชลินประเดิมคว้าชัยในฤดูกาลเปิดปฐมฤกษ์การแข่งแรลลี่ WRC รวม 6 สนาม ด้วยรถแข่ง Alpine A110

2525
มิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขัน WRC ประเภทรถขับเคลื่อน 4 ล้อเป็นครั้งแรก โดย ฮานนู มิกโคลา (Hannu Mikkola) ขับรถแข่ง Audi Quattro ลงสนามคว้าชัยในรายการ 1000 Lakes Rally

2530
มิชลินคว้าชัยชนะด้วยรถยนต์ประเภท Group A ที่กำหนดขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก โดยการขับขี่ของ ทิโม
ซาโลเนน
(Timo Salonen) ที่ใช้รถ Mazda 323 ลงแข่งในสวีเดน
เปิดตัวเทคโนโลยี ATS ที่ช่วยสนับสนุนให้ขับขี่ต่อไปได้ชั่วคราวหลังจากยางแตกรั่วซึม

2534
รถแข่ง Lancia Delta Integrale ที่ขับขี่โดย ดีดีเยร์ โอรียอล (Didier Auriol) ทำคะแนนคว้าแชมป์โลกเป็นครั้งที่ 100 ในประเภทผู้ผลิต ณ ซานเรโม (Sanremo) ประเทศอิตาลี

2540
มิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขันประเภทใหม่ World Rally Car เป็นครั้งแรก ด้วยรถ Ford Escort Cosworth WRC ฝีมือการขับขี่ของ คาร์ลอส ไซนซ์ (Carlos Sainz) ในการแข่งขันรายการ Acropolis Rally

2546
มิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขัน WRC เป็นครั้งที่ 200 ณ ประเทศฟินแลนด์ ด้วยรถแข่ง Ford Focus RS WRC ที่ขับขี่โดย มาร์กโก มาร์ติน (Markko Märtin)

2547
เซบาสเตียน เลิบ (Sébastien Loeb) ครองตำแหน่งแชมป์โลกครั้งแรกด้วยรถแข่ง Citroën Xsara WRC ที่ใช้ยางมิชลิน

2556
เซบาสเตียน โอกิเยร์ (Sébastien Ogier) คว้าชัยชนะและครองแชมป์ในการแข่งขัน WRC เป็นครั้งแรก ด้วยรถแข่ง Volkswagen Polo R WRC ที่ใช้ยางมิชลิน

2559
มิชลินคว้าชัยชนะในการแข่งขัน WRC เป็นครั้งที่ 300 ที่ประเทศสเปน ด้วยฝีมือของ เซบาสเตียน
โอกิเยร์
(Sébastien Ogier) จากทีม Volkswagen

2563
เซบาสเตียน โอกิเยร์ (Sébastien Ogier) ครองตำแหน่งแชมป์เป็นสมัยที่ 7 ก่อนที่มิชลินจะไม่ได้สนับสนุนยางล้อให้กับผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นอย่างโตโยต้าและรถแข่ง Yaris WRC ในการแข่งขันรายการนี้

FIA FORMULA E WORLD CHAMPIONSHIP: คว้าชัย 84 สนาม ระหว่างปี 2557-2565

มิชลินครองแชมป์ 7 สมัย และคว้าชัยในการแข่งขัน ePrix 84 ครั้ง ในฐานะผู้ผลิตยางล้อและพันธมิตรผู้ก่อตั้งการแข่งขันรายการนี้แต่เพียงผู้เดียวระหว่างปี 2557-2565

สตอฟเฟล แวนดอร์น (Stoffel Vandoorne) คว้าตำแหน่งแชมป์โลกในฤดูกาลที่ 7 (ปี 2564) ร่วมกับ
มิชลิน

จนถึงปัจจุบันมีนักแข่งรถ 7 ราย [ เนลสัน ปิเกต์ จูเนียร์ (Nelson Piquet Jr.), เซบาสเตียน บูเอมี (Sébastien Buemi), ลูคัส ดิ กราสซิ (Lucas Di Grassi), ฌ็อง-เอริก แวร์จน์ (Jean-Éric Vergne), อันโตนิโอ เฟลิกซ์ ดา คอสตา (António Félix Da Costa), นิก เดอ ฟรีส์ (Nyck De Vries) และ สตอฟเฟล แวนดอร์น (Stoffel Vandoorne) ] และผู้ผลิตยานยนต์ 4 ราย [ เรโนลต์ (Renault), อาวดี้ (Audi), ดีเอส (DS) และ เมอร์เซเดส (Mercedes) ] คว้ามงกุฎแชมป์โลกจากการแข่งรถระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าประเภทที่นั่งเดี่ยว Formula E

10

ข้อมูลเกี่ยวกับนักแข่งรถและผู้ผลิตยานยนต์ที่คว้าชัยในการแข่งรถรายการ FIA Formula E ด้วยยางมิชลิน

  • คว้าชัยชนะ 16 สนาม และตำแหน่งแชมป์ 2 สมัย กับทีม DS Techeetah Formula E ระหว่างปี 2559-2565
  • คว้าชัยชนะ 14 สนาม ด้วยรถแข่ง Audi e-tron FE ระหว่างปี 2557-2564
  • คว้าชัยชนะ 7 สนาม ด้วยรถแข่ง Mercedes EQ-Silver Arrow 02
  • คว้าชัยชนะ 7 สนาม ด้วยรถแข่ง BMW iFE 2.1
  • คว้าชัยชนะ 1 สนาม กับทีม Porsche ในปี 2565
  • ขึ้นโพเดียม 21 ครั้ง กับทีม Jaguar ระหว่างปี 2559-2565 โดยมิชลินเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของการแข่งรถไฟฟ้ารายการ Jaguar I-Pace eTrophy ตั้งแต่ปี 2561-2563

 

  • คว้าชัยชนะ 8 ครั้ง กับนักแข่งต่อไปนี้:
    • เนลซินโญ่ ปิเกต์ (Nelsinho Piquet) จากทีม NEXTEV TCR ฤดูกาลปี 2557-2558
    • เซบาสเตียน บูเอมี (Sébastien Buemi) จากทีม Renault-e.dams ฤดูกาลปี 2558-2559
    • ลูคัส ดิ กราสซิ (Lucas Di Grassi) จากทีม Audi Sport Abt Schaeffler ฤดูกาลปี 2559-2560
    • ฌ็อง-เอริก แวร์จน์ (Jean-Éric Vergne) จากทีม Techeetah ฤดูกาลปี 2560-2561 และปี 2561-2562
    • อันโตนิโอ เฟลิกซ์ ดา คอสตา (António Félix Da Costa) จากทีม DS Techeetah ฤดูกาลปี 2562-2563
    • นิก เดอ ฟรีส์ (Nyck De Vries) จากทีม Mercedes-Benz EQ Formula E ฤดูกาลปี 2563-2564
    • สตอฟเฟล แวนดอร์น (Stoffel Vandoorne) จากทีม Mercedes-Benz EQ Formula E ฤดูกาลปี 2564-2565

ชัยชนะในการแข่งขันรายการอื่นๆ

IMSA

ระหว่างปี 2562-2565  มิชลินคว้าชัยในการประลองความเร็วระดับกลุ่มประเภท (Class Win) ของการแข่งรถรายการ International Motor Sport Association (IMSA) รวม 22 ครั้ง ด้วยรถแข่ง Porsche 911

คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่วมพันธมิตรระหว่างมิชลินและ IMSA

Dakar Rally: การแข่งขันแรลลี่สุดหฤโหดกลางทะเลทราย

ในการแข่งรถรายการ Dakar Rally ระหว่างปี 2525-2565 มิชลินคว้าชัยชนะ 15 ครั้ง ซึ่ง 12 ครั้งในจำนวนนี้เป็นชัยชนะที่ได้มาจากการใช้ยางบีเอฟกู๊ดริช

ในการแข่งรถจักรยานยนต์รายการ Dakar Rally ระหว่างปี 2526-2565 มิชลินคว้าชัยชนะรวม 37 ครั้ง

ในการแข่งรถบรรทุกรายการ Dakar Rally ระหว่างปี 2524-2560 มิชลินคว้าชัยชนะรวม 33 ครั้ง

Formula 1: คว้าชัย 102 ครั้ง ระหว่างปี 2520-2527 และปี 2544-2549

มิชลินเข้าร่วมการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ (Grand Prix) 215 ครั้ง โดยคว้าตำแหน่งสตาร์ทหัวแถว (Pole Position) 111 ครั้ง และคว้าชัยชนะ 102 ครั้ง

ในปี 2521 คาร์ลอส รอยเตมาน (Carlos Reutemaan) คว้าชัยในการแข่งรถรายการ Brazilian Grand Prix จากการใช้ยางเรเดียลของมิชลินเป็นครั้งแรก หลังจากเริ่มใช้ยางเรเดียลในการแข่งขันรายการนี้เมื่อปี 2520  ชัยชนะครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำยางเรเดียลมาใช้เป็นยางมาตรฐานสำหรับ
ยานยนต์ทุกประเภทที่ใช้งานบนถนนทั่วไป

มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์ประเภทนักแข่ง 5 สมัย จาก โจดี้ เช็คเตอร์ (Jody Scheckter) ในปี 2522, เนลสัน ปิเกต์ (Nelson Piquet) ปี 2526, นิกิ เลาด้า (Niki Lauda) ปี 2527 และ เฟอร์นันโด อลอนโซ (Fernando Alonso) ปี 2548 และปี 2549

มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์ประเภทผู้ผลิต 4 สมัย จาก เฟอร์รารี่ (Ferrari) ในปี 2522, แมคลาเรน (Mclaren) ปี 2527 และเรโนลต์ (Renault) ปี 2548 และปี 2549

FIM ENDURANCE WORLD CHAMPIONSHIP

มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลก 15 สมัยในการแข่งขันรถจักรยานยนต์รายการ Endurance World Championship (EWC) ทั้งยังคว้าชัยชนะในการแข่งรถจักรยานยนต์มาราธอนรายการ 24 Heures Moto 13 ครั้ง, ในการแข่งรถจักรยานยนต์รายการ Bol d’Or 13 ครั้ง และรายการ 8 Hours of Suzuka 16 ครั้ง

FIM TRIAL WORLD CHAMPIONSHIP

โทนี บู (Toni Bou) ขับรถจักรยานยนต์ Montesa ซึ่งติดตั้งยางมิชลิน คว้าแชมป์ทั้งประเภท Trial GP (กลางแจ้ง) และประเภท X-Trial (ในร่ม) เป็นปีที่ 15 ติดต่อกัน นักบิดสัญชาติสเปนรายนี้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติการแข่งรถจักรยานยนต์ โดยครองมงกุฎแชมป์โลกมากกว่า 30 สมัย จากการลงแข่งด้วยยางมิชลินทุกครั้ง

การแข่งรถจักรยานยนต์รายการ Trial World Championship

  • มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลกไทรอัลประเภทกลางแจ้ง 40 สมัย ตั้งแต่ปี 2524-2564
  • มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลกไทรอัลประเภทในร่ม 21 สมัย ตั้งแต่ปี 2545-2564


การแข่งรถจักรยานยนต์วิบากรายการ Enduro World Championship

  • มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลกมากกว่า 40 สมัย ตั้งแต่ปี 2543


การแข่งรถจักรยานยนต์วิบากรายการ Motocross

  • มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลก 7 สมัย ตั้งแต่ปี 2545

PORSCHE MOTORSPORT

มิชลินเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของการแข่งรถทางเรียบรายการ Porsche Mobil 1 Supercup โดยมีส่วนร่วมในการแข่งขัน Porsche Carrera Cup ที่จัดขึ้นทั่วโลก ได้แก่
- เอเชีย
- ออสเตรเลีย
- เบเนลักซ์
- บราซิล
- เยอรมนี
- ฝรั่งเศส
- อังกฤษ
- อิตาลี
- ญี่ปุ่น
- อเมริกาเหนือ
- สแกนดิเนเวีย

ทั้งนี้ มิชลินได้พัฒนายาง N2/N2R และ N3/N3R ขึ้นเป็นพิเศษร่วมกับผู้ผลิตรถสปอร์ตของปอร์เช่เพื่อรีดสมรรถนะสูงสุดบนสนามแข่ง

FIM WORLD SUPERBIKE CHAMPIONSHIP

มิชลินคว้าตำแหน่งแชมป์โลกในการแข่งรถจักรยานยนต์ทางเรียบรายการ WORLD SUPERBIKE CHAMPIONSHIP (SWBK) รวม 12 สมัย ระหว่างปี 2541-2546

ALMS

มิชลินเป็นพันธมิตรรายหลักและผู้สนับสนุนยางของ American Le Mans Series (ALMS) เพียงรายเดียวมาตั้งแต่การแข่งรถรายการนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 โดย ดอน พานอซ (Don Panoz)

GT CHINA

มิชลินร่วมเป็นพันธมิตรการแข่งรถรายการ GT Championship ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2561 โดยชัยชนะและตำแหน่งแชมป์ทุกสมัยในรายการนี้ล้วนเกิดขึ้นด้วยการใช้ยางมิชลิน

ยางมิชลิน...ยางที่เชื่อมั่นไว้วางใจได้ทั้งบนสนามแข่งและท้องถนนทั่วไป

เหตุใดจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยางจากมิชลิน

Designed to win

กีฬามอเตอร์สปอร์ต: ตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรม

ยางมิชลินได้รับความไว้วางใจจากผู้มีบทบาทสำคัญในกีฬามอเตอร์สปอร์ตที่มีความคาดหวังสูง ไม่ว่าจะเป็นในการแข่งรถชิงแชมป์โลกรายการสำคัญๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA) และสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM) หรือการแข่งรถทางเรียบประเภท Endurance Race อาทิ การแข่งรถรายการ ‘เลอ มังส์ 24 ชั่วโมง’ (Le Mans 24 Hours), การแข่งรถจักรยานยนต์ ‘โมโตจีพี’ (MotoGP) และการแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ‘โมโตอี’ (MotoE)

Trust MICHELIN for a better life in motion

วางใจใน ‘มิชลิน’…เพื่อมุ่งสู่อีกระดับของชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง

ยางมิชลินได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่มีความคาดหวังสูง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ผลิตยานยนต์ นักกีฬามอเตอร์สปอร์ต หรือผู้นำทางความคิดคนสำคัญ...ต่างเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยางจากมิชลิน

The range challenge of electric cars

ก้าวล้ำนำหน้าด้านการสัญจรด้วยพลังงานไฟฟ้า

มิชลินเป็นผู้มีบทบาทระดับแนวหน้าด้านการสัญจรด้วยพลังงานไฟฟ้า วิศวกรของเราทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน เพื่อออกแบบยางล้อสมรรถนะสูงที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า

map search desktop

ค้นหาร้านตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ที่อยู่ใกล้คุณ

ค้นหาจาก
ที่อยู่ จังหวัด หรือรหัสไปรษณีย์
รถยนต์
  • รถยนต์
  • รถจักรยานยนต์
  • จักรยานยนต์
ค้นหาจากตำแหน่งของฉัน
ค้้นหา

ข้อความสงวนสิทธิ์ทางกฎหมาย

(1) ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา มิชลินคว้าชัยชนะมากกว่า 730 ครั้งในการแข่งรถชิงแชมป์โลกรายการสำคัญๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA) [ได้แก่ Formula 1, World Endurance Championship (WEC), Sportscar World Championship, Grand Touring (GT), World Rally Championship (WRC) และ Formula E]  ทั้งยังคว้าชัยชนะมากกว่า 830 ครั้งในการแข่งรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลกรายการสำคัญๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM) [ได้แก่ MotoGP™, Superbike, Endurance World Championship (EWC) และ Rally-Raid]

(2) สหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (International Motorcycling Federation: FIM) เป็นสมาคมอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการแข่งขันจักรยานยนต์ในระดับโลก ประกอบด้วยผู้แทนจาก 111 ชาติ (National Federation) ทั่วโลก

สมาพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (International Automobile Federation: FIA) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีสมาชิก 240 ราย ใน 144 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2447 โดยเป็นที่รู้จักในฐานะองค์กรที่บริหารจัดการการแข่งรถรายการสำคัญๆ ของโลก  ทั้งนี้ ขอบเขตงานของสมาพันธ์ฯ ยังครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์, ท้องถนน, การสัญจร, สิ่งแวดล้อม, ความปลอดภัยทางถนน ฯลฯ อีกด้วย

คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์