Choose a language
moto edito pressure tips and advice

เติมลมยางมอเตอร์ไซค์เท่าไหร่ถึงเหมาะกับจักรยานยนต์แต่ละแบบ?

คำแนะนำสำหรับยางรถจักรยานยนต์

บางครั้งคนที่ใช้รถสองล้อเป็นประจำก็อาจไม่รู้แน่ชัดว่าควรเติมลมยางมอเตอร์ไซค์เท่าไหร่ ซึ่งการเติมลมยางให้เหมาะกับมอเตอร์ไซค์แต่ละประเภทนั้นอยู่ตลอดเวลานั้น จะช่วยให้คุณขับขี่สองล้อคู่ใจได้อย่างปลอดภัย สัมผัสได้ถึงสมรรถนะของรถได้เต็มที่ ทั้งการเข้าโค้ง การขับขี่ด้วยความเร็วต่ำและการเบรก รวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้เสื่อมสภาพช้าลงอีกต่างหาก 
 
ในทางกลับกัน หากคุณไม่หมั่นตรวจสอบแรงดันลมยางมอเตอร์ไซค์คันโปรดเป็นประจำ ยางก็มีโอกาสสึกหรอเร็วกว่าปกติ แถมเพิ่มความเสี่ยงที่โครงสร้างยางจะเสียหายและรั่วซึมง่ายขึ้นอีกด้วย 
 
เพื่อช่วยให้คุณเติมลมยางมอเตอร์ไซค์ได้อย่างถูกต้อง บทความนี้จะมอบคำแนะนำแบบเข้าใจง่ายให้กับคุณ ไม่ว่าคุณจะใช้มอเตอร์ไซค์ประเภทไหนอยู่ก็ตาม

คำแนะนำที่คุณควรรู้สำหรับการเติมลมยางมอเตอร์ไซค์ทั่วไป

สิ่งแรกที่คุณควรทำอย่างสม่ำเสมอก็คือการตรวจสอบแรงดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ของคุณ ทุกๆ สองสัปดาห์ หรือก่อนที่จะเริ่มเดินทางไกล โดยทำในขณะที่ยางยังเย็นตัวอยู่ เช่น ยางที่ไม่ได้วิ่งเป็นเวลาอย่างน้อยสองชั่วโมงหรือวิ่งน้อยกว่า 3 กม. ที่ความเร็วต่ำ

อย่างไรก็ตาม หากคุณเพิ่งขับขี่มอเตอร์ไซค์มาแล้วพบว่ายางยังร้อนอยู่ เหล่านี้คือสิ่งที่คุณทำตามเพื่อช่วยให้แรงดันลมยางมอเตอร์ไซค์อยู่ในค่าที่เหมาะสมที่สุด

  • ห้ามปล่อยลมยางในขณะที่ยางยังคงร้อนอยู่ 
  • อย่าลืมปิดฝารูเติมลมยางที่ล้อรถจากที่ตรวจสอบแรงดันเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกครั้ง 
  • หากคุณเติมลมยางด้วยไนโตรเจนเป็นประจำ ก็ควรตรวจสอบแรงดันและเติมลมยางไนโตรเจนเท่านั้น 
  • ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับแรงดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ตามที่ผู้ผลิตระบุไว้ในคู่มือประจำรถ 

 

มอเตอร์ไซค์วิบาก เอ็นดูโร โมโตครอส ควรเติมลมยางเท่าไหร่ เรามีคำตอบให้คุณ

รถจักรยานยนต์ แบนเนอร์ พื้นหลัง for enduro ac10 ยาง

หากใครเป็นสายลุยทางฝุ่นที่ชอบขี่มอเตอร์ไซค์วิบาก เอ็นดูโร หรือโมโตครอสเข้าป่าไปสนุกบนเส้นทางออฟโรดเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติ เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับแรงดันลมยางที่เหมาะสม เพื่อขจัดปัญหาว่าไม่รู้จะเติมลมยางมอเตอร์ไซค์เท่าไหร่ดีให้หมดไป 
 
สำหรับการเติมลมยางมอเตอร์ไซค์วิบากเพื่อการขับขี่สไตล์ออฟโรดที่เราจะแนะนำต่อจากนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานระยะสั้นๆ ที่ความเร็วต่ำ และมีน้ำหนักบรรทุกน้อย รวมถึงใช้บนพื้นผิวถนนเรียบเท่านั้น หากขับขี่บนถนนเป็นระยะทางไกล คุณควรเพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้น และไม่ใช้ค่าแรงดันลมยางที่แนะนำนี้สำหรับการใช้งานบนถนนเป็นเวลานาน เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

แรงดันลมยางที่ควรเติมให้กับมอเตอร์ไซค์สไตล์ออฟโรดของคุณ

สำหรับแรงดันลมยางของมอเตอร์ไซค์สายวิบากหรือลุยทางฝุ่นที่มิชลินแนะนำนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นผิว สภาพอากาศ และพละกำลังของมอเตอร์ไซค์ ซึ่งจะมีค่าที่บอกให้คุณรู้ว่าควรเติมลมยางมอเตอร์ไซค์ที่เท่าไหร่บ้างดังต่อไปนี้ 

รุ่นยางมอเตอร์ไซค์มิชลิน

แรงดันลมยางที่แนะนำ

แรงดันลมยางขั้นต่ำ

ยางหน้า

ยางหลัง

ยางหน้า

ยางหลัง

MICHELIN StarCross 6

0.9 bar (13 PSI) 

0.9 bar (13 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

MICHELIN StarCross 5

1.2 bar (17 PSI) 

1.2 bar (17 PSI) 

1.0 bar (14 PSI) 

1.0 bar (14 PSI) 

MICHELIN Enduro Xtrem (rear)

0.8 bar (11 PSI) 

0.6 bar (8 PSI) 

MICHELIN Enduro Medium

1.0 bar (14 PSI) 

1.0 bar (14 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

MICHELIN Enduro Hard (front)

1.0 bar (14 PSI) 

 

0.8 bar (11 PSI) 

 

MICHELIN Tracker

1.2 bar (17 PSI) 

1.2 bar (17 PSI) 

 

 

MICHELIN Desert Race

1.2 bar (17 PSI) 

1.5 bar (21 PSI) 

1.0 bar (14 PSI) 

1.0 bar (14 PSI) 

MICHELIN Desert Race BAJA (rear)

 

1.2 bar (17 PSI) 

 

1.0 bar (14 PSI) 

MICHELIN Trial Competition

0.39 bar (5 PSI) 

 

0.39 bar (5 PSI) 

 

MICHELIN Trial Competition X11

 

0.35 bar (5 PSI) 

 

0.3 bar (4 PSI) 

MICHELIN Trial Light

0.39 bar (5 PSI) 

 

0.39 bar (5 PSI) 

 

MICHELIN StarCross 6

0.9 bar (13 PSI) 

0.9 bar (13 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

0.8 bar (11 PSI) 

เทคนิคการติดตั้งยางใน

ปกติแล้วการติดตั้งยางในเป็นอะไรที่ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากหากเผลอกดยางในแรงเกินไปก็อาจทำให้ขอบยาง (bead wires) ขาดได้ ดังนั้นคุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการติดตั้งอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะขั้นตอนการใส่ขอบยางเข้ากับขอบล้อ ที่ต้องทาสารหล่อลื่นที่ยางใน พร้อมกับขึงยางอีกด้านไว้ในร่องขอบล้อให้แน่น  รวมถึงห้ามใช้แรงกดกับบริเวณขอบยางมากเกินไป

ขั้นตอนการเติมลมยาง

  • ใช้ยางรองระหว่างขอบยางในกับขอบล้อ: วางยางรอง (rubber ring) ไว้ระหว่างขอบยาง (tire bead) กับขอบล้อ (rim) เพื่อป้องกันการกดทับโดยตรง
  • ใช้สายรัดยาง: รัดสายรัดที่บริเวณแก้มยาง (tire crown) ให้แน่น เพื่อช่วยในการเติมลมยางนำร่องในช่วงแรก
     

การสึกหรอของยาง

ดอกยางถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ยางมอเตอร์ไซค์สามารถเกาะถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งดอกยางสึกหรอหรือเสื่อมสภาพมากเท่าไร ยางก็จะยิ่งเกาะถนนได้น้อยลงเท่านั้น นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมคุณถึงควรตรวจสอบยางมอเตอร์ไซค์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาสัญญาณของการสึกหรอที่คุณสามารถยืดอายุการใช้งานของยางให้นานขึ้นกว่าเดิมได้

วิธีการตรวจสอบ

  • สังเกตด้วยสายตา: วัดความลึกของดอกยางและความสม่ำเสมอของการสึกหรอ
  • แรงดันลมยาง: ส่งผลโดยตรงต่อการสึกหรอของยาง ควรตรวจสอบและเติมลมยางให้ได้ตามค่าที่แนะนำเสมอ
     

การจำแนกประเภทยางขนาดเดียวกันมี 2 แบบ

คุณควรจำไว้ว่าการจำแนกประเภทยางขนาดเดียวกันมี 2 แบบ

  • การจำแนกแบบเก่า: มิชลิน เอ็นดูโร ดีเซิร์ท เรซ > การกำหนดขนาดของยางขึ้นอยู่กับความกว้างของยางโดยทำการวัดที่ดอกยาง 
  • การจำแนกแบบใหม่: มิชลิน สตาร์ครอส แทรคเกอร์ AC10 ไทรอัล > การกำหนดขนาดของยางขึ้นอยู่กับความกว้างของยางโดยทำการวัดที่แก้มยาง 

 

ตัวอย่าง : ยางเอ็นดูโร 140/80-18 สอดคล้องกับยางโมโตครอส 120/90-18 (ดูตารางด้านล่าง)

เอ็นดูโร

โมโตครอส

90/90-21

80/100-21

120/80-19

100/90-19

130/70-19

110/90-19

120/90-18

100/100-18

130/80-18

110/100-18

140/80-18

120/90-18

off road equivalent

ความกว้างของยางมอเตอร์ไซค์โมโตครอสจะวัดที่ฐานของดอกยาง ในขณะที่ความกว้างของยางมอเตอร์ไซค์เอ็นดูโรจะวัดที่จุดปลายสุดของดอกยาง ซึ่งบ่งบอกถึงระยะกว้างสุดของหน้ายางเส้นนั้น

moto banner bg circuit3 tyres

มอเตอร์ไซค์สายสปอร์ตหรือซูเปอร์ไบค์ที่ใช้ขับขี่ในสนามแข่งควรเติมลมยางที่เท่าไหร่?

ได้ชื่อว่าการแข่งขันแล้วทุกปัจจัยที่เกิดขึ้นบนสนามแข่งล้วนส่งผลต่อชัยชนะไม่มากก็น้อย โดยแรงดันลมยางที่ถูกต้องก็นับเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สปอร์ตไบค์หรือซูเปอร์ไบค์ที่จะลงชิงชัยในสนาม สามารถถ่ายทอดสมรรถนะของเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน และระบบช่วงล่างให้ออกมาได้เต็มสมรรถนะ ดังนั้นคุณควรตั้งเติมแรงดันลมยางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และต้องเหมาะสมยางที่คุณเลือกใช้กับมอเตอร์ไซค์

แรงดันลมยางขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับอุณหภูมิห้อง

แรงดันลมยางที่แนะนำขณะที่ยางร้อน

ยางหน้า

ยางหลัง

ยางหน้า

ยางหลัง

MICHELIN Power Performance

2.1 bar (30 PSI) 

1.3 bar (18 PSI) 

2.3-2.5 bar (33-36 PSI) 

1.5-1.7 bar (21-24 PSI) 

MICHELIN Power Slick 2

2.1 bar (30 PSI) 

1.5 bar (21 PSI) 

2.4 bar (34 PSI) 

1.7 bar (24 PSI) 

MICHELIN Power Cup 2 (3)

2.1 bar (30 PSI) 

1.5 bar (21 PSI) 

2.4 bar (34 PSI) 

1.7 bar (24 PSI) 

MICHELIN Power Cup Evo (3)

2.1 bar (30 PSI) 

1.5 bar (21 PSI) 

2.4 bar (34 PSI) 

1.7 bar (24 PSI) 

MICHELIN Power Rain - Drying

2.3 bar (33 PSI) 

1.8 bar (26 PSI) 

MICHELIN Power Rain - Wet

2.4 bar (34 PSI) 

2.2 bar (31 PSI) 

MICHELIN Power Rain - Soaking wet

2.4 bar (34 PSI) 

2.4 bar (34 PSI) 

MICHELIN Power SuperMoto

1.8 bar (26 PSI) 

1.6 bar (23 PSI) 

2.0 bar (29 PSI) 

1.9 bar (27 PSI) 

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Drying

2.3 bar (33 PSI) 

1.8 bar (26 PSI) 

 

 

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Wet

2.4 bar (34 PSI) 

2.2 bar (31 PSI) 

 

 

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Soaking wet

2.4 bar (34 PSI) 

2.4 bar (34 PSI) 

 

 

MICHELIN Power GP2 (3)

2.1 bar (30 PSI) 

1.9 bar (27 PSI) 

 

 

(1) เติมลมยางที่อุณหภูมิห้องก่อนการขับขี่ครั้งแรกหรือก่อนติดตั้งเครื่องอุ่นล้อยาง
(2) มิชลินแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องอุ่นล้อยางไว้ที่ 90 องศาเซลเซียส 
(3) หลังจากขับขี่บนสนามแข่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่คุณจะนำมอเตอร์ไซค์กลับมาขับขี่บนท้องถนน คุณจะต้องปรับแรงดันลมยางในขณะที่ยางเย็นลงจนมาอยู่ในอุณหภูมิห้องตามค่าที่ผู้ผลิตแนะนำทุกครั้ง

สำหรับผู้ขับขี่ที่เข้าแข่งขันในกลุ่ม มิชลิน พาวเวอร์ เพอร์ฟอร์แมนซ์ ทีมเทคนิคของมิชลินสามารถให้คำแนะนำได้ทันทีเกี่ยวกับการปรับ ความดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ โดยขึ้นอยู่กับ:

  • อุณหภูมิอากาศ/สนามแข่ง
  • พื้นผิวที่หยาบของสนามแข่ง
  • ระดับทักษะของผู้ขับขี่

มอเตอร์ไซค์สายสปอร์ตหรือซูเปอร์ไบค์ที่ใช้ขับขี่ในสนามแข่งควรเติมลมยางที่เท่าไร?

tyre warmers

วิธีการใช้เครื่องอุ่นล้อยางอย่างถูกต้อง

ยางมิชลิน พาวเวอร์ สลิค 2, มิชลิน พาวเวอร์ คัพ 2, มิชลิน พาวเวอร์ คัพ อีโว และมิชลิน พาวเวอร์ จีพีได้รับการออกแบบมาให้มีระยะเวลาในการอุ่นเครื่องที่รวดเร็ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นล้อยาง

การตั้งค่าแรงดันลมยาง:

  • ก่อนใช้งานครั้งแรก: แรงดันลมยางที่ตั้งไว้ที่อุณหภูมิปกติ ควรเท่ากับตอนที่คุณยังไม่ได้ใช้เครื่องอุ่นยาง 
  • ข้อดีของเครื่องอุ่นยาง: ช่วยให้ยางร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานได้เร็วขึ้น และ ห้าม ใช้เครื่องอุ่นยางเพื่อเริ่มต้นด้วยแรงดันลมยางที่ต่ำกว่า 
  • วัตถุประสงค์หลัก: 
    • ลดระยะเวลาในการวอร์มอัปยางก่อนการขี่จริงในสนาม 
    • ยางร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานที่เหมาะสม (optimum operating pressure) เร็วขึ้น

 

การใช้งานเครื่องอุ่นยาง:

  • อุณหภูมิ: อุ่นยางที่ 90 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนขี่ครั้งแรก
  • ยาง Supermoto Slick: ห้ามใช้เครื่องอุ่นยางที่อุณหภูมิเกิน 70-80 องศาเซลเซียส
  • สภาพอากาศหนาว:
    • ไม่ควรตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องอุ่นยางสูงเกินไป
    • ยิ่งอากาศหนาว ยิ่งควรตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องอุ่นยางต่ำลง เพื่อป้องกันยางเย็นลง ขณะขี่
    • ยางที่เย็นลงขณะขี่ อาจส่งผลต่อการควบคุมรถ และประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน
  • ยาง MICHELIN Power Rain: ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นยาง แต่ถ้าใช้ ควรตั้งค่าอุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส

 

หมายเหตุ:

  • คำแนะนำแรงดันลมยางเหล่านี้ใช้สำหรับการขับขี่ในสนามแข่งเท่านั้น
  • สำหรับการขับขี่บนถนนทั่วไป ควรใช้แรงดันลมยางตามคำแนะนำของผู้ผลิตยาง
  • สำหรับยางสนามแข่งที่อนุญาตให้ใช้บนถนนทั่วไป หรือยางถนนทั่วไปที่ใช้ในสนามแข่งเป็นครั้งคราว หลังจากใช้ในสนามแข่ง คุณจะต้องปรับแรงดันลมยางให้กลับสู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการขับขี่บนถนนทั่วไป
map search desktop

ค้นหาร้านตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ที่อยู่ใกล้คุณ

ค้นหาจาก
ที่อยู่ จังหวัด หรือรหัสไปรษณีย์
รถจักรยานยนต์
ค้นหาจากตำแหน่งของฉัน
ค้้นหา
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์