Choose a language
moto edito pressure tips and advice

คำแนะนำเกี่ยวกับความดันลมยางรถจักรยานยนต์

คำแนะนำสำหรับยางรถจักรยานยนต์

ยางควรมีปริมาณลมอยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดเวลาเพื่อให้มีความปลอดภัย และมีอายุการใช้งานยืนยาว  อีกทั้งการใช้งานยางที่มีปริมาณลมในระดับที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิตยังช่วยเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมรถทั้งในทางตรงและการเข้าโค้งอย่างมาก รวมถึงการเบรกและการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำเช่นกัน  ในทางกลับกัน การใช้งานยางที่มีปริมาณลมน้อยกว่าระดับปกติอาจทำให้ยางเกิดการสึกหรอก่อนเวลาอันควร เกิดความเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงที่ยางจะเปลี่ยนรูป หรือหลุดออกจากขอบล้อได้แม้ว่าจะใช้ตัวล็อคยางอยู่ก็ตาม

โปรดอ่านคําแนะนําของเราหากต้องการทราบทุกเรื่องที่คุณจําเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความดันลมยางรถจักรยานยนต์สำหรับการใช้งานบนท้องถนน ออฟโรด และสนามแข่ง

เนื้อหาของบทความ:

คำแนะนำสำหรับ ความดันลมยางรถจักรยานยนต์ ทั่วไป

คุณควรตรวจสอบ ความดันลมยางรถจักรยานยนต์ ทุกๆ สองสัปดาห์และก่อนเดินทางไกลขณะยางเย็นตัว (เช่น ยางที่ไม่ได้วิ่งเป็นเวลาอย่างน้อยสองชั่วโมงหรือวิ่งน้อยกว่า 3 กม. ที่ความเร็วต่ำ) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ทำการปรับตั้งหากคุณใช้แรงดันหลังจากการขับขี่ เช่น ยาง "ร้อน" ในกรณีนี้ โปรดดูคำแนะนำจากผู้ผลิต

  • ห้ามปล่อยลมยางที่ร้อน
  • อย่าลืมปิดฝาครอบวาล์วหลังจากที่ตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  • ยังต้องตรวจสอบยางที่เติมไนโตรเจนอยู่เป็นประจำและปรับด้วยไนโตรเจนเท่านั้น
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับความดันลมยางรถจักรยานยนต์จากผู้ผลิต

 
คําแนะนําดังกล่าวนี้นำไปใช้ได้กับยางที่ใช้บนท้องถนน

มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับความดันลมยางรถจักรยานยนต์แบบออฟโรดและในสนามแข่ง

ความดันลมยางรถจักรยานยนต์แบบออฟโรด

รถจักรยานยนต์ แบนเนอร์ พื้นหลัง for enduro ac10 ยาง

คำแนะนำเกี่ยวกับ ความดันลมยางรถจักรยานยนต์ บบออฟโรดจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่มีการจำกัดระยะเวลา ความเร็ว และน้ำหนักบรรทุกบนพื้นผิวเคลือบสำหรับความเร็วสูงเท่านั้น เช่น ถนน เป็นต้น  เราขอแนะนำให้เพิ่มแรงดันลมยางเพื่อใช้งานบนถนนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้งานบนถนนเป็นระยะเวลานาน 

แรงดันที่แนะนำ

ความดันลมยางรถจักรยานยนต์ที่มิชลินแนะนำขึ้นอยู่กับพื้นผิว สภาพอากาศ กำลังของรถจักรยานยนต์ และประเภทการควบคุม มีดังต่อไปนี้:

ความดันลมยางออฟโรด

แรงดันที่แนะนำ

แรงดันขั้นต่ำที่แนะนำ

ด้านหน้า

ด้านหลัง

ด้านหน้า

ด้านหลัง

MICHELIN StarCross 6

0.9 bar

0.9 bar

0.8 bar

0.8 bar

MICHELIN StarCross 5

1.2 bar

1.2 bar

1.0 bar

1.0 bar

MICHELIN Enduro Xtrem (rear)

0.8 bar

0.6 bar

MICHELIN Enduro Medium

1.0 bar

1.0 bar

0.8 bar

0.8 bar

MICHELIN Enduro Hard (front)

1.0 bar

0.8 bar

MICHELIN Tracker

1.2 bar

1.2 bar

MICHELIN Desert Race

1.2 bars

1.5 bar

1.0 bar

1.0 bar

MICHELIN Desert Race BAJA (rear)

1.2 bar

1.0 bar

MICHELIN Trial Competition

0.39 bar

0.35 bar

MICHELIN Trial Competition X11

0.35

0.3

MICHELIN Trial Light

0.39 bar

0,39 bar

มิชลิน Bib MousseTM: ทางออกของปัญหายางรั่วขณะขับขี่แบบออฟโรด!

michelin bib mousse packaging mockup
3528700573374 tire michelin bib mousse 120 slash 70 12 51s c main 1 30 nopad

หากคุณเบื่อกับปัญหายางรั่วขณะขับขี่แบบออฟโรดหรือหากคุณกําลังมองหาทางออกเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ คุณสามารถติดตั้ง มิชลิน Bib MousseTM ที่ล้อได้

เคล็ดลับของไทรอัล

ยางไทรอัลมีการออกแบบที่ยากต่อการติดตั้ง ซึ่งคุณอาจเสี่ยงที่จะทำให้ขอบยางแตกได้หากกดแรงเกินไป  โดยคุณจำเป็นจะต้องทำตามคำแนะนำสำหรับการใส่ตะขอยึดขอบล้ออย่างระมัดระวัง (ทำการหล่อลื่น จับขอบยางด้านตรงข้ามในขอบล้อกลวงให้แน่น และไม่ควรใช้แรงกดบนขอบล้อมากเกินไป)  และเมื่อต้องการเติมลมยาง ให้วางแหวนยางลงระหว่างขอบยางและขอบล้อ หรือใช้สายรัดบนดอกยางให้แน่นเพื่อเริ่มอัดแรงดัน

การสึกหรอของยาง

ดอกยางเป็นส่วนที่ทำหน้าที่หลักในการยึดเกาะถนน ซึ่งหากเกิดการสึกหรอแล้ว ความสามารถในการยึดเกาะถนนของยางก็จะด้อยประสิทธิภาพลงไป ดังนั้น โปรดอย่าลืมตรวจสภาพยางเป็นประจำเพื่อดูว่ามีการสึกหรอหรือไม่ด้วยการตรวจสอบความลึกของดอกยาง และความสม่ำเสมอของการสึกหรอด้วยสายตา นอกจากนี้ แรงดันลมยางยังมีผลโดยตรงต่อการสึกหรอด้วยเช่นกัน

การจำแนกประเภทยางขนาดเดียวกันมี 2 แบบ

โปรดระวัง! การจำแนกประเภทยางขนาดเดียวกันมี 2 แบบ

  • การจำแนกแบบเก่า: มิชลิน เอ็นดูโร ดีเซิร์ท เรซ > การกําหนดขนาดของยางขึ้นอยู่กับความกว้างของยางโดยทำการวัดที่ดอกยาง
  • การจำแนกแบบใหม่: มิชลิน สตาร์ครอส แทรคเกอร์ AC10 ไทรอัล > การกําหนดขนาดของยางขึ้นอยู่กับความกว้างของยางโดยทำการวัดที่แก้มยาง

 

ตัวอย่าง : ยางเอ็นดูโร 140/80-18 สอดคล้องกับยางมอเตอร์ครอส 120/90-18 (ดูตารางด้านล่าง)
 

เอ็นดูโร

มอเตอร์ครอส

90/90-21

80/100-21

120/80-19

100/90-19

130/70-19

110/90-19

120/90-18

100/100-18

130/80-18

110/100-18

140/80-18

120/90-18

off road equivalent

ความกว้างของยางมอเตอร์ครอสวัดที่ฐานของดอกยาง ในขณะที่ความกว้างของยางรถจักรยานยนต์เอ็นดูโรวัดที่จุดปลายสุดของดอกยาง ซึ่งบ่งบอกถึงระยะกว้างสุดของหน้ายาง

ความดันลมยางรถจักรยานยนต์สําหรับการขับขี่ในสนามแข่ง 

moto banner bg circuit3 tyres

แรงดันที่ถูกต้องช่วยให้เกิดสมรรถนะสูงสุด
ควรตั้งค่าแรงดันไว้ที่อุณหภูมิแวดล้อมและขึ้นอยู่กับยางที่คุณเลือกใช้กับรถจักรยานยนต์:

ความดันลมยางเย็นขั้นต่ำสำหรับยางและขอบล้อที่อุณหภูมิแวดล้อม (1)

ความดันที่กำหนดเมื่อมีความร้อน

ด้านหน้า

ด้านหลัง

ด้านหน้า

ด้านหลัง

MICHELIN Power Performance

2.1 bar

1.3 bar

2.3 to 2.5 bar

1.5 to 1.7 bar

MICHELIN Power Slick 2

2.1 bar

1.5 bar

2.4 bar

1.7 bar

MICHELIN Power Cup 2 (3)

2.1 bar

1.5 bar

2.4 bar

1.7 bar

MICHELIN Power Cup Evo (3)

2.1 bar

1.5 bar

2.4 bar

1.7 bar

MICHELIN Power Rain - Drying

2.3 bar

1.8 bar

MICHELIN Power Rain - Wet

2.4 bar

2.2 bar

MICHELIN Power Rain - Soaking wet

2.4 bar

2.4 bar

MICHELIN Power SuperMoto

1.8 bar

1.6 bar

2.0 bar

1.9 bar

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Drying

2.3 bar

1.8 bar

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Wet

2.4 bar

2.2 bar

MICHELIN Power SuperMoto Rain - Soaking wet

2.4 bar

2.4 bar

MICHELIN Power GP (3)

2.1 bar

1.9 bar

1) ใช้ความดันที่อุณหภูมิแวดล้อมกับยางและขอบล้อก่อนการขับขี่ครั้งแรกหรือก่อนติดตั้งเครื่องอุ่นล้อยาง
(2) มิชลินแนะนําให้ตั้งอุณหภูมิเครื่องอุ่นล้อยางไว้ที่ 194 องศาฟาเรนไฮต์
(3) หลังจากขับขี่บนสนามแข่งและก่อนขับขี่บนท้องถนน คุณจะต้องปรับความดันลมยางเย็นตามการตั้งค่าที่แนะนําของผู้ผลิต
 

สําหรับผู้ขับขี่ที่เข้าแข่งขันในกลุ่ม มิชลิน พาวเวอร์ เพอร์ฟอร์แมนซ์ ทีมเทคนิคของมิชลินสามารถให้คําแนะนําได้ทันทีเกี่ยวกับการปรับ ความดันลมยางรถจักรยานยนต์ โดยขึ้นอยู่กับ:

  • อุณหภูมิอากาศ/สนามแข่ง
  • พื้นผิวที่หยาบของสนามแข่ง
  • ระดับทักษะของผู้ขับขี่
tyre warmers

การใช้เครื่องอุ่นล้อยาง:

ยางมิชลิน พาวเวอร์ สลิค 2, มิชลิน พาวเวอร์ คัพ 2, มิชลิน พาวเวอร์ คัพ อีโว และมิชลิน พาวเวอร์ จีพีได้รับการออกแบบมาให้มีระยะเวลาในการอุ่นเครื่องที่รวดเร็ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นล้อยาง

  • เมื่อใช้เครื่องอุ่นล้อยาง ความดันที่ตั้งไว้ที่อุณหภูมิแวดล้อมก่อนการขับขี่ครั้งแรกควรเหมือนกันกับตอนที่ไม่มีเครื่องอุ่นล้อยาง
  • การใช้เครื่องอุ่นล้อยางช่วยทำให้เกิดความดันใช้งานได้เร็วขึ้น ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม การใช้เครื่องอุ่นล้อยางไม่สามารถทําให้สตาร์ทเครื่องด้วยความดันต่ำได้ วัตถุประสงค์หลักของการใช้เครื่องอุ่นล้อยางคือเพื่อให้เกิดความดันใช้งานที่เหมาะสมเร็วขึ้นเพื่อช่วยประหยัดเวลาในการอุ่นเครื่องในช่วงเริ่มต้นของการขับขี่
  • ควรใช้เครื่องอุ่นล้อยางที่มีอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนการขับขี่ครั้งแรก สําหรับยางซุปเปอร์โมโต สลิค ห้ามให้อุณหภูมิเกิน 70-80 องศาเซลเซียส ในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ไม่ควรตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องอุ่นล้อยางสูงเกินไป ยิ่งอากาศเย็นมากเท่าไหร่ อุณหภูมิของเครื่องอุ่นล้อยางก็จะยิ่งลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางเย็นลงขณะขับขี่ ยางที่เย็นลงขณะขับขี่อาจทำให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถสัมผัสสมรรถนะการขับขี่ได้จริง
  • ไม่จําเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นล้อยางกับมิชลิน พาวเวอร์ เรน หากใช้ ควรปรับอุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียส
  • คําแนะนําเกี่ยวกับความดันดังกล่าวนี้สําหรับการใช้งานในสนามแข่ง สําหรับการใช้งานบนท้องถนน ต้องใช้คําแนะนําเกี่ยวกับความดันลมยางของผู้ผลิต สำหรับยางที่เหมาะกับการใช้งานในสนามแข่งที่ได้รับการรับรองสำหรับการใช้งานบนท้องถนนหรือยางที่เหมาะกับการใช้งานบนท้องถนนสําหรับการใช้งานในสนามแข่งเป็นครั้งคราว จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปรับความดันลมยางกลับสู่ระดับที่ถูกต้องสําหรับการใช้งานบนท้องถนนหลังจากที่มีการใช้งานในสนามแข่ง
map search desktop

ค้นหาร้านตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ที่อยู่ใกล้คุณ

ค้นหาจาก
ที่อยู่ จังหวัด หรือรหัสไปรษณีย์
รถจักรยานยนต์
ค้นหาจากตำแหน่งของฉัน
ค้้นหา
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์
คุณกำลังใช้งานเบราว์เซอร์เวอร์ชั่นที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซด์ซึ่งอาจส่งผลกระทบจากใช้งานในบางส่วน กรุณาเลือกใช้เบราว์เซอร์หรืออัพเกรดเบราว์เซอร์ให้ตรงกับรายการข้างล่างเพื่อประโยชน์สูงสุดในการเยี่ยมชมเว็บไซด์